Home | About us | บริการถ่ายภาพ | ห้องภาพ | บทความ | เว็บบอร์ด | เช็คราคากล้อง-เลนส์ | โหราพยากรณ์ | Links  
       
 

สนุกกับการถ่ายภาพอินฟาเรด

ภาพถ่ายด้วยฟิล์ม ขาวดำอินฟาเรดกับฟิลเตอร์สีแดง

           การถ่ายภาพอินฟาเรดเมื่อก่อนใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์ เช่น ใช้ในการตรวจจับความร้อน ผลพิเศษที่ได้จากการภาพถ่ายอินฟาเรดที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ เมื่อนำไปถ่ายต้นไม้ สีของใบไม้จะเกิดการผิดเพี้ยนไป ถ้าเป็นฟิล์มขาวดำปกติใบไม้จะเป็นสีดำเทา แต่เมื่อถ่ายด้วยฟิล์มอินฟาเรดขาวดำ ใบไม้จะเป็นสีขาวเทา และท้องฟ้าจะดำ

         เตรียมตัวก่อนถ่ายภาพ

        ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ฟิล์มอินฟาเรดไม่ว่าจะเป็นฟิล์มสไลด์หรือขาวดำ ห้ามให้ฟิล์มโดนแสงและความร้อนเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ฟิล์มเกิดอาการ ฟ็อกแสง ดังนั้นทุกขั้นตอนต้องอย่างระมัดระวัง จนถึงการล้าง ฟิล์มอินฟาเรดที่สามารถโดนแสงได้คือฟิล์มที่ผ่านการล้างเสร็จแล้วเท่านั้น

         อุปกรณ์ ก่อนถ่ายภาพอินฟาเรด

         กล้องถ่ายภาพ กล้องถ่ายภาพรุ่นใหม่ ๆ มักจะมีปัญหากับการใช้ฟิล์มอินฟาเรด เพราะเซนเชอร์ในการตรวจจับหางฟิล์ม โดยส่วนมากจะเป็นกล้องของ Canon ส่วน Nikon กลับไม่มีปัญหาอะไรมากเท่าไหร่นัก แต่หากมีกล้องแมนนวลรุ่นเก่า ๆ อย่าง Fm2 หรือ K1000 ซึ่งสามารถใช้ได้เลยโดยไม่มีปัญหา

hie

          ถุงมืด หรือ ถุงที่ใช้โหลดฟิล์ม เอาไว้ใช้เมื่อตอนโหลดฟิล์มเข้าออกจากกลักฟิล์มและกล้องถ่ายภาพ เพื่อไม่ให้ฟิล์มฟ็อกแสง เมื่อก่อนผมไม่มี มักจะโหลดตอนกลางคืน ปิดไฟ แล้วมุดใต้ผ้านวมเพื่อทำการโหลดฟิล์มเข้าออกจากกล้อง

          ฟิล์มอินฟาเรด จะมีให้เลือก 2 ชนิด คือ ฟิล์มขาวดำอินฟาเรด Kodak HIE และฟิล์มสไลด์สีอินฟาเรด Kodak EIR หาซื้อได้ง่ายที่ร้านโฟโต้ซิตี้ และคัลเลอร์อิมเมจ ตรงข้ามเซ็นทรัลลาดพร้าว

 

 

eir

         ฟิลเตอร์สี กับการใช้ในการถ่ายภาพอินฟาเรด ซึ่งจะใช้คนละสีกัน หากเป็นฟิล์มขาวดำอินฟาเรด มักจะใช้ R25 หรือสีแดง ฟิล์มสไลด์อินฟาเรดมักจะใช้สีเหลือง แต่ผมชอบ สีซีเปียมากกว่า ซึ่งการเลือกใช้สีของฟิลเตอร์จะมีผลต่อการปรับค่าความไวแสง (ISO) ของฟิล์มอินฟาเรดด้วย

 

 

 

 

          เลนส์ที่ใช้ในการถ่ายภาพขาวดำอินฟาเรด ที่เลนส์จะต้องมีจุดมาร์กอินฟาเรด เมื่อโฟกัสจุดที่โฟกัสได้แล้วต้องหมุนกลับมาที่จุดมาร์กอินฟาเรดของกล้อง ดังนั้นเวลาถ่ายต้องดูเส้นควบคุมชัดลึกว่า ค่ารูรับแสงที่เราใช้อยู่ครอบคลุมไปถึงจุดที่เราโฟกัสและจุดมาร์กอินฟาเรดหรือไม่ หากไม่มีจุดมาร์กที่ตัวเลนส์ก็สามารถถ่ายภาพอินฟาเรดได้ แต่ต้องใช้วิธีการเดาหรือชดเชยโฟกัสให้โฟกัสเข้ามาอีกนิดนึงและใช้รูรับแสงไม่น้อยกว่า F.8 เป็นผลให้ต้องใช้ความไวชัตเตอร์ต่ำ ดังนั้นหากต้องการภาพที่คมชัดจึงต้องใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการถ่ายด้วย

 

 

 

ขั้นตอนการถ่ายภาพ

         1. การนำฟิลม์ออกจากกลัก โหลดเข้ากล้อง ต้องทำในที่มืดสนิทเท่านั้น จึงต้องทำการฝึกโหลดฟิล์มในถุงมืดหรือในที่มืดให้ดีก่อน เมื่อมั่นใจแล้ว จึงทำการโหลดฟิล์มอินฟาเรดเข้าสู่กล้อง

          2. เลือกค่าความไวแสงให้เหมาะสม อย่างเช่นฟิล์มขาวดำอินฟาเรดกับฟิลเตอร์สีแดง จะตั้งค่าที่ ISO 50 แต่ช่างภาพหลายคนชอบที่ ISO 400 ผลที่ได้คือ ที่ ISO 50 ภาพที่ได้จะมีเกรนที่มากกว่า ฟิล์มสไลด์อินฟาเรดเมื่อใช้กับฟิลเตอร์สีเหลือง จะตั้งค่าที่ ISO 200 มีหลายคนถามว่าถ้าไม่ใส่ฟิลเตอร์จะเป็นอย่างไร คำตอบคือ หากถ่ายด้วยฟิลม์ขาวดำอินฟาเรด โดยไม่ใส่ฟิลเตอร์ ก็จะไม่ได้ผลพิเศษอะไร ภาพที่ได้จะเหมือนกับภาพขาวดำธรรมดา

         3. ระวังเรื่องความร้อน หากลืมกล้องตากแดด หรือทิ้งไว้ในรถยนต์และตากแดด จะส่งผลให้ฟิล์มอินฟาเรดหมดอายุ สังเกตุได้โดย ฟิล์มอินฟาเรดขาวดำภาพจะมีจุดดำทั่วภาพ ฟิล์มสไลด์อินฟาเรดฟิล์มจะติดสีแดง

          4. ระหว่างการถ่ายภาพไม่ควรเปลี่ยนเลนส์กลางแดด โดยเฉพาะฟิล์มขาวดำอินฟาเรดควรจะเปลี่ยนในถุงมืด เพราะแสงเพียงเล็กน้อยอาจจะทำให้ฟิล์มฟ็อกแสงได้

 

ภาพถ่ายด้วยฟิล์มสไลด์อินฟาเรด กับฟิลเตอร์สีเหลือง

 

          5. เมื่อถ่ายภาพเสร็จแล้วทำการโหลดฟิล์มเข้ากลักในที่มืด หรือถุงมืด จากนั้นให้นำสก็อตเทปมาผนึกกลักฟิล์มไว้ เพื่อป้องกันความไม่รู้ของร้านล้างฟิล์ม โดยเลือกร้านที่รู้จักฟิล์มชนิดนี้และมีความสามารถในการล้างให้ได้ สำหรับฟิล์มขาวดำอินฟาเรดหากสามารถล้างเองได้จะดีกว่าเพราะสามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ทำให้ภาพมีคุณภาพตรงตามใจมากยิ่งขึ้น

      

 

 

 

 

 

 การถ่ายภาพอินฟาเรดด้วยดิจิตอล

การถ่ายภาพอินฟาเรดด้วยดิจิตอล
ภาพถ่ายด้วยกล้องดิจิตอล กับฟิลเตอร์ฟิล์มสไลด์

         การถ่ายภาพอินฟาเรดด้วยกล้องดิจิตอล เป็นวิธีที่งานและประหยัดที่สุด อีกทั้งโอกาสเสี่ยงน้อยกว่าฟิล์ม แต่ต้องมีความเข้าใจในการปรับสีในโปรแกรม Photo shop วิธีการก็ไม่ยาก โดยหาวัสดุทดแทนที่ใกล้เคียงกับฟิลเตอร์อินฟาเรดมากที่สุดคือ ฟิล์มสไลด์ที่ผ่านการล้างแล้ว ส่วนที่ใช้คือ ส่วนที่ไม่โดนถ่าย นำมาตัดแล้วใส่กับฟิลเตอร์บังไว้หน้าเลนส์ จากนั้นตั้งค่าสมดุลสีขาว (ไวด์บาลานส์) เป็นทังแสตน หลังจากนั้นเลือกค่าความไวแสงที่สูงขึ้น และใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการถ่ายภาพ เมื่อถ่ายภาพเสร็จ นำมาปรับในโปรแกรม Photo shop โดยการปรับ Level และสีของภาพ จะทำให้สามารถได้ภาพที่คล้ายถ่ายด้วยฟิล์มสไลด์อินฟาเรดและขาวดำอินฟาเรด

 

        

 

 

 

 

 

 

by ชัยยงค์ โกกนุทาภรณ์


 
 

Design by TaewTong | taewtong2002@yahoo.com

 

Copyrights © 2007 www.doartdee.com | All rights reserved.