Home | About us | บริการถ่ายภาพ | ห้องภาพ | บทความ | เว็บบอร์ด | เช็คราคากล้อง-เลนส์ | โหราพยากรณ์ | Links  
       
 
sofe box
ราคาค่าตัวประมาณ 2800 บาท + -

Soft Box อุปกรณ์เสริมของเล่นหรือของจริง

          แฟลชจัดเป็นอุปกรณ์เสริมที่ขาดไม่ได้ในการถ่ายภาพ ถึงแม้ว่ากล้องบางตัวจะมีแฟลชในตัวติดมาให้แล้ว แต่ก็มีกำลังแฟลชที่น้อยเกินไป โดยมีระยะหวังผลไม่เกิน 5 เมตร และจะค่อนข้างสิ้นเปลืองพลังงานกล้องมาก จึงจำเป็นที่จะต้องหาแฟลชภายนอกมาเสริม และเพิ่มลูกเล่นมากขึ้น แฟลชภายนอกรุ่นสูง ๆ จะมีความสามารถที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการหมุนหัวแฟลช การชดเชยแสงที่ปรับอย่างละเอียด และมีระบบแยกแฟลชไร้สายได้ และมีเทคนิคลูกเล่นเพิ่มมาให้ได้เห็น ได้ใช้กัน เช่น แผ่นสะท้อนแสง แผ่นกระจายแสงแฟลชที่จะติดมากับแฟลชรุ่นใหม่ ๆ

แผ่นกระจายแสง และแผ่นสะท้อนแสง
แผ่นกระจายแสง และแผ่นสะท้อนแสง

 

 

 

 

 

 

       

 

 

 

ฝาครอบกระจายแสง
ฝาครอบกระจายแสง

        ปัญหาจากการถ่ายภาพด้วยแฟลชตรง คือ แสงแฟลชที่เรียกกันว่าแสงแข็ง ดูไม่นุ่มนวล จึงเกิดแนวความคิด เทคนิคการใช้แฟลชใหม่ ๆ เช่น บางคนจะเอาทิชชู่มาบังแสง หรือจะนำเอากระดาษมาทำเป็นแผ่นสะท้อนแสงแฟลช เพื่อจุดประสงค์ที่เหมือนกันคือ ต้องการความนุ่มนวลของแสงแฟลช แต่หารู้ไม่ว่า บางครั้งผลที่ได้แทบไม่แตกต่างจากการถ่ายภาพด้วยแฟลชปกติ ยังทำให้สูญเสียพลังงานแบตเตอรี่และกำลังแสงแฟลชโดยใช่เหตุ

        จากเท่าที่ถ่ายภาพมา และพยายามทำอุปกรณ์กระจายแสงมา เพื่อหาดูว่า มันให้แสงที่นุ่มแบบสุด ๆ เท่าที่จะสามารถจัดหา และทำได้ ผลที่ได้คือ ความเพี้ยนของอุณหภูมิสี การสูญเสียกำลังแฟลช จนไม่อยากจะทำอะไรเพิ่มเติมอีกแล้ว อีกทั้งฝาครอบกระจายแสงแฟลชที่แถมมากับ SB-800 ก็ใช้งานได้ประทับใจดี

 

 

ด้านหน้า

        วันนึง ได้เห็นช่างภาพถ่ายงานรับปริญญา ซึ่งนาน ๆ ทีจะได้เห็นคนที่ลงทุนซื้อมากกว่าประดิษฐ์เอง ทำไมถึงกล่าวอย่างนี้ ก็เพราะว่าของที่ทำออกมาขาย เขาต้องทำการทดสอบจัดหาวัสดุที่จะเอาออกมาทำ และผลที่ได้ต้องพิสูจน์ได้จริง ไม่อย่างงั้นเท่ากับหลอกลวง ซึ่งกว่าผมจะเจอวัสดุที่ทำให้การกระจายแสงดี ๆ และอุณหภูมิสีที่ถูกต้อง ก็ทำเอาสิ้นเปลืองทั้งงบประมาณ - เวลา ไปเยอะเหมือนกัน   จึงได้ลงทุนซื้ออุปกรณ์กระจายแสง อย่างน้อยก็เพื่อภาพลักษณ์ตอนออกงานไปถ่ายภาพให้ลูกค้า

          เมื่อซื้อมา ตอนแรกคิดว่าคงยุ่งยาก ในการประกอบหรือการเก็บขนย้ายหรือไม่ และผลที่ออกมาคุ้มกับเงินที่เสียไปไหม คำตอบคือ มันง่ายกว่าที่คิดมาก เพียงติดตีนตุ๊กแกที่แฟลช จากนั้นก็นำมาประกอบเลย ทำได้อย่างรวดเร็ว

 

 

ด้านหลัง
ติดตีนตุ๊กแก

    

 

        

         

 

 

 

 

หน้าตาเมื่อประกอบเสร็จ

 

           เมื่อประกอบเสร็จแล้วก็พร้อมเอามาทดสอบก่อนออกไปสนามจริง เพื่อหาจุดบกพร่องของการใช้ซ็อพบ็อก และนำมาเปรียบเทียบกับการถ่ายด้วยแฟลชวิธีต่าง ๆ

 

ทดสอบด้วย

กล้อง Nikon D70 เลนส์ 50 mm F1.4

แฟลช SB-800

พระเอก โดเรมอน

ในห้องเพดานสูงประมาณ 3 เมตร ฉากหลังสีขาว

กรรมการตรวจสอบ (เครื่องวัดแสงแฟลช) Minolta V

 

              

 

 

ยิงแฟลชตรง
แผ่นกระจายแสงแฟลช (เสียแสง 2 สต็อป)
แผ่นสะท้อนแสงแฟลช 45องศา (เสียแสง 2 สต็อป)
ฝาครอบกระจายแสงแฟลชยิงตรง (เสียแสง 2 สต็อป)
ฝาครอบกระจายแสงแฟลช 45 องศา(เสียแสง 3 สต็อป)
ฝาครอบกระจายแสงแฟลช 90 องศา(เสียแสง 4 สต็อป)
ฝาครอบกระจายแสงแฟลชยิงตรง+ซ็อฟบ็อก (เสียแสง 2 สต็อป)
ฝาแฟลชยิงตรง+ซ็อฟบ็อก (เสียแสง 1 สต็อป)

สรุปผลการทดลอง

          เมื่อเปรียบเทียบกับการถ่ายแฟลชโดยตรง สังเกตบริเวณเงาด้านหลัง จะมีความเข้มของเงามาก ส่วนแผ่นกระจายแสงแฟลชให้ผลที่แทบไม่แตกต่าง จุดประสงค์ของแผ่นกระจายแสงแฟลชก็เพื่อให้สามารถถ่ายภาพกับเลนส์มุมกว้าง ให้องศาของแสงแฟลชกระจายได้ทั่วถึง ไม่ได้ทำให้นุ่มลงมากอย่างที่คิด แผ่นสะท้อนแสงให้ผลที่ดี แต่เหมาะกับการถ่ายภาพในอาคารที่ต้องการให้แฟลชสะท้อนกับเพดานลงมา ส่วนฝาครอบกระจายแสงออกแบบมาเพื่อทำให้แสงนุ่ม และสามารถตั้งให้สะท้อนเพดานได้ เนื่องจากการกระจัดกระจายของแสงของฝาครอบ และซ็อพบ็อกให้แสงนุ่มที่สุด และเสียแสงไม่มาก

ทดสอบจากสถานการณ์จริง

ให้แสงที่นุ่มมาก

          เมื่อไปถึงงานแต่งงาน การประกอบอุปกรณ์ กล้อง เลนส์ และแฟลชต้องเตรียมพร้อม และต้องมีอุปกรณ์สำรองเสมอ เพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด การประกอบเข้าและการถอดออกของซ็อพบ็อก ทำได้เร็วพอควร แต่ไม่เท่ากับการที่ใช้ ฝาครอบแฟลชซึ่งสะดวกกว่า ข้อจำกัดของซ็อพบ็อกตัวนี้คือ ไม่ควรใช้กับเลนส์เทเลมาก ๆ เนื่องจากต้องอาศัยระยะห่างที่มาก จึงทำให้กำลังแฟลชไปไม่ถึงแบบ เมื่อถ่ายจะติดอันเดอร์ จึงไม่แปลกที่ทำไมแฟลชสตูที่ใช้ซ็อพบ็อก จึงต้องมีค่ากำลังไฟที่สูง เพราะต้องชดเชยกับการสูญเสียแสงจากตัวซ็อพบ็อกแล้ว ยังต้องมีการสูญเสียแสงจากระยะห่างของตัวแบบอีก

        สรุปจากการใช้งาน

         เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสงนุ่ม อุณหภูมิสีถูกต้อง และใช้ตีนตุ๊กแก ในการยึดติด สามารถประกอบได้เร็ว พกพาได้ง่าย แต่ข้อเสียก็มี เช่น ต้องพกถ่านแฟลชมากขึ้น การทำงานของแฟลชเรียกได้ว่าแทบยิงเต็มกำลังทุกครั้งที่ถ่าย เมื่อเปรียบเทียบกับราคา ผมว่ามันไม่คุ้มนักสำหรับนักถ่ายภาพทั่วไป แต่เหมาะสำหรับนักถ่ายภาพโฆษณา - ถ่ายสินค้า และถ่ายภาพบุคคล ที่มีความเข้าใจเรื่องแสงแล้วในระดับหนึ่ง

ใช้กับเลนส์มุมกว้างได้อย่างสนุก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

by ชัยยงค์ โกกนุทาภรณ


 
 

Design by TaewTong | taewtong2002@yahoo.com

 

Copyrights © 2007 www.doartdee.com | All rights reserved.